วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประวัติประเพณีลอยกระทง

วันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)





ประวัติการลอยกระทง


     ลอยกระทง หมายถึง ประเพณีบูชารอยพระพุทธบาท แสดงความ สำนึกบุญคุณของแหล่งน้ำอันมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิ ตและเป็นการ การบูชาพระแม่คงคาเทวีตามความเชื่อแต่โบราณด้วยกระทง ดอกไม้ธูป เทียน ประกอบกับสิ่งประดิษฐ์จากธรรมชาติที่ลอยน้ำได้ วันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 คำ เดือน 12 ประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ

 ผู้เป็นพระสนมเอกของพระร่วงเจ้าว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่างๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการฯให้จัดพิธีลอยกระทงเป็นประจำทุกปี ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองพระราชพิธีนี้จึงได้ถือปฏิบัติเป็นประจำจนกระทั่งบัดนี้


     การลอยกระทงเป็นนักขัตฤกษ์รื่นเริงของคนทั่วไป เมื่อเป็นพิธีหลวง เรียกว่า " พระราชพิธีจองเปรียง ลดชุดลอยโคมส่งน้ำ" ต่อมาเรียก "ลอยพระประทีป" พิธีนี้มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยดัง ปรากฏหลักฐานอยู่ใน หนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น และได้กระทำต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดจนถึงสมัยกร ุงรัตนโกสินทร์ พิธีลอยกระทงเดิมทำกันในวันเพ็ญเดือน11 และวันเพ็ญเดือน12 ปัจจุบันพิธีลอยกระทงเฉพาะวันเพ็ญเดือน12 พิธีลอยกระทง สันนิษฐานว่าได้มาจากอินเดีย ตามลักธิพราหมณ์เชื่อว่า ลอยกระทงเพื่อบูชาแม่น้ำคงคง อันศักค์สิทธิ์ของอินเดีย และลอยเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้า คือ พระนารายณ์ ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่กลางเกษียรสมุทร

     อีกประการหนึ่ง ศาสนาพุทธเชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการทำพิธีเพื่อต้อน รับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จจากเทวโลกสู่โลกมนุษย์ ภายหลังจากทรงเทศนาโปรด พุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บ้างก็เชื่อว่าเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในพระจุฬามณี พระเจดีย์บนสวรรค์ บางก็ว่าเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ทรงประทับไว้ ณ หาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมหานทีในแคว้นทักขิณาบถ ของประเทศอินเดีย (ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา) บางท่านก็ว่า ลอยกระทงเพื่อขอบคุณพระแม่คงคาที่ให้เราได้อาศัยน้ำก ินน้ำใช้ และขออภัยพระแม่คงคา ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในน้ำ เมื่อถึงวันเพ็ญ เดือน 12 ประชาชนจะจัดทำกระทงเป็นรูปต่าง ๆด้วยใบตอง หรือกาบใบต้นพลับพลึง หรือวัสดุอื่น ๆ ประดับตกแต่งกระทงให้สวยงามด้วยดอกไม้สดในกระทงจะปักธูปเทียน บางทีก็ใส่สตางค์ หรือหมากพลูลงไปด้วยสมัยก่อนในพิธีลอยกระทงมีการเล่น สักวาเล่นเพลงเรือและมีแสดง มหรสพประกอบงานมีการประกวด นางนพมาศ ประกวด กระทงและร่วมกันลอยกระทง โดยจุดธูปเทียน กล่าวอธิษฐานตามที่ใจปรารถนาและปล่อยกระทงให้ลอยไปตามน้ำ

                    การ ลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท อันที่จริงลอยกระทงเป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ เพราะชาวบ้านทั่วไปรู้จากประสบการณ์ว่า ถึงเดือนสิบเอ็ด (หรือราวเดือนตุลาคม) น้ำจะขึ้นนองหลาก,พอถึงเดือนสิบสอง (หรือราวเดือนพฤศจิกายน) น้ำจะทรงตัวคือไม่ขึ้นไม่ลง,ครั้นเดือนอ้าย (หรือราวเดือนธันวาคม) ต่อเดือนยี่ (หรือราวเดือนมกราคม) น้ำจะลดลง

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ นัมมะทายะ
นะทิยา ปุเลเนฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ
อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังฆวัตตะตุ


กิจกรรมวันลอยกระทง

นำกระทงไปลอยตามแม่น้ำลำคลอง หรือตามแหล่งน้ำที่มีการจัดพิธี
ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในวันลอยกระทง เช่น การประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ การละเล่นพื้นเมือง  เช่น รำวงเพลงเรือ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมไทย
จัดนิทรรศการ หรือพิธีลอยกระทง เพื่อเผยแพร่และอนุรักษ์ประเพณีไทย
จัดรณรงค์ให้มีการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำกระทง เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะแก่แม่น้ำลำคลอง

เหตุผลในการลอยกระทง

เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทและบูชาเทพเจ้า ตามคติความเชื่อ
เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา
เพื่อรู้ถึงคุณค่าของน้ำหรือแม่น้ำลำคลอง อันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต

การลอยกระทงในปัจจุบัน

                    การ ลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 1 2 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วย และดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้ เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวังพร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้ทำกระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ

การลอยกระทงของชาวเหนือและอีสาน

การลอยกระทงของชาวเหนือ (ยี่เป็ง)
การลอยกระทงของชาวเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง (คือเดือนยี่หรือเดือนสอง เพราะนับวันเร็วกว่าของเรา 2 เดือน) เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเล ลึกหรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า



การลอยกระทงในภาคอีสาน เรียกว่าเทศกาลไหลเรือไฟ


จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในจังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่าง ๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่น ๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตา






ประวัติประเพณีลอยกระทง-นางนพมาศ -(ลอยกระทง ที่ไหนดี?)




เล่ากันว่า นางนพมาศ เป็นต้นกำเนิดประเพณีลอยกระทงที่เราปฏิบัติสืบต่อกันมา แต่ดูเหมือนว่าข้อเท็จจริงทางวิชาการไม่ได้ยืนยันเรื่องนี้ ..

   นางนพมาศมีตัวจริงหรือไม่มี ก็หาคนยืนยันไม่ได้เสียแล้ว ในจารึกก็ไม่ได้ใส่ไว้ แต่มีหนังสืออยู่เล่มหนึ่ง ที่เล่าเรื่องนางนพมาศ เป็นที่อ้างอิงกันทั่วไป นั่นก็คือ หนังสือเรื่อง นางนพมาศ หรือเรียกอีกชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  โดยทั่วไปแล้ว เชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่เพิ่งได้ตีพิมพ์เป็นเล่มเมื่อ พ.ศ. 2457

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงไว้เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก มาให้อ่าน สั้นๆ ไม่กี่หน้า แต่มีคุณค่ามาก อย่าพลิกข้ามไปเป็นอันขาด

   ท่านกล่าวว่า ในเรื่องโวหารนั้น หนังสือเล่มนี้สังเกตได้ ว่าแต่งในราวรัชกาลที่ 2 ? รัชกาลที่ 3 เพราะถ้าเทียบสำนวนกับหนังสือรุ่นสุโขทัย อย่างไตรภูมิพระร่วง หรือหนังสือรุ่นอยุธยา ก็เห็นชัด ว่าหนังสือนางนพมาศใหม่กว่าแน่ๆ และยังมีที่จับผิดในส่วนของเนื้อหา ที่กล่าวถึงชาติฝรั่งต่างๆ โดยเฉพาะอเมริกัน ซึ่งเพิ่งเกิดแท้ๆ

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ได้กราบทูลรัชกาลที่ 5 ว่าหนังสือที่ปรากฏนี้คงไม่ได้เก่าขนาดสุโขทัยแน่ๆ รัชกาลที่ 5 ท่านก็เห็นอย่างนั้น แต่มีนักปราชญ์รุ่นก่อนๆ อย่างรัชกาลที่ 4 หรือ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท เชื่อว่าน่าจะมีตัวฉบับเดิมที่เก่าแก่ แต่ต้นฉบับอาจชำรุดขาดไป มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ และเล่าสืบกันมาว่าในครั้งรัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระราชนิพนธ์แทรกไว้ตอนหนึ่ง คือ ตอนที่ว่าด้วย ?พระศรีมโหสถลองปัญญานางนพมาศ? จนจบ ?นางเรวดีให้โอวาทของนพมาศ? ซึ่งกินเนื้อที่ ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง

   สรุปความว่า หนังสือเล่มนี้หลายท่านเชื่อว่าน่าจะมีต้นฉบับเดิมมาตั้งแต่สมัยโบราณ แม้รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็อ้างถึง หนังสือเรื่องนางนพมาศเอาไว้หลายครั้ง สำหรับตัวหนังสือที่ตกมาในปัจจุบันเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ทำให้ภาษาสำนวนใหม่ขึ้นมาก

ทำไมจึงเชื่อว่า นางนพมาศเป็นหนังสือเก่า

   สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านเห็นว่าหนังสือนี้น่าจะมีเค้าเดิมมาแต่เก่าก่อน เพราะในหนังสือเล่าพิธีพราหมณ์เอาไว้ (ราว 1 ใน 3 ของเรื่อง) ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามธรรมเนียมเก่า โดยขนบแล้วพิธีพราหมณ์นั้นมีตำราจดบันทึกรักษาไว้อย่างดี คนทั่วไปไม่ใคร่จะรู้ หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องพิธีพราหมณ์ได้ละเอียดก็หมายความว่าไม่ธรรมดา

เนื้อหา

   มาดูเนื้อหากันบ้าง ใครถาม ก็พอจะได้โม้ให้เขาฟังได้ ว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เขาเล่าอะไรเอาไว้

   เริ่มต้นว่าด้วยกำเนิดมนุษย์ ชาติภาษา พร้อมแนะนำตัวผู้เขียน ?ข้าน้อยผู้ได้นามบัญญัติชื่อว่า ศรีจุฬาลักษณ์? เล่าถึงกำเนิดอาณาจักรและ จากนั้นก็สรรเสริญพระเกียรติสมเด็จพระร่วงเจ้า เล่าถึงผู้คน ชาติตระกูลในสุโขทัย และมาถึงประวัติส่วนตัวของนางนพมาศ

   พระมโหสถ พราหมณ์ บิดาของนางนพมาศได้เล่านิทานสอนใจแก่นางสามสี่เรื่อง จากนั้นนางเรวดี มารดา ให้โอวาทสอนมารยาท แล้วนำไปถวายตัวพระร่วงเจ้า

   ช่วงต่อมานางนพมาศเล่าถึงพิธีพราหมณ์ทั้งสิ้น 12 พิธี เริ่มตั้งแต่เดือน 12 พิธีจองเปรียง (เดือนอ้าย เดือนยี่ จนถึงเดือนสิบเอ็ด พิธีอาชยุศ ปิดท้ายด้วยหัวข้อ ?ว่าด้วยความประพฤติแห่งนางสนม? เรื่องกิริยามารยาทต่างๆ

   เรื่องลอยกระทงกล่าวไว้ในพิธีแรก (คือเดือนสิบสองไทย) เรียกว่า พิธีจองเปรียง ?วันเพ็ญเดือน 12 เป็นนักขัตฤกษ์ชักโคมลอยโคม? ผู้คนพากันแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทั่วพระนคร ทำโคมตกแต่งลวดลาย มาชักมาแขวนเรียงรายตามแนวโคมชัยเสาระหงหน้าพระที่นั่ง มีมหรสพด้วย นางนพมาศทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) จุดประทีปเปรียง (คือ ใส่น้ำมันไขข้อโค) มีจุดดอกไม้ไฟ จุดพะเนียงพลุสว่างไสวไปหมด ในหนังสือเล่าต่อว่า ?อันว่าโคมลอยรูปดอกกระมุทก็ปรากฏมาจนเท่าทุกวันนี้ แต่คำโลกสมมุติเปลี่ยนชื่อเรียกว่าลอยกระทงทรงประทีป?

   สำหรับในพิธีจองเปรียงนี้ ได้กล่าวถึงโคมลอยโคมชัก โคมปักโคมห้อย (เช่นเดียวกับพระราชพิธีจองเปรียง ในหนังสือ พระราชพิธีสิบสองเดือน) เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสักการะพระมหาเกตุธาตุจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเรือพระที่นั่งไปถวายดอกไม้เพลิงตามพระอารามหลวงริมฝั่งแม่น้ำทั่วพระนคร




ประวัตินางนพมาศ

          วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง อะแฮ่มๆ แหม...ใกล้จะถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือเรียกง่ายๆ ว่า เทศกาลสำคัญหนึ่งของคนไทยแล้ว มันก็ต้องคึกคักกันหน่อย (จริงป่ะ) แต่นอกจากการลอยกระทงเพื่อขอขมาพระแม่คงคาแล้ว ยังมีการเล่นดอกไม้ไฟ พลุ หรือการแสดงต่างๆ อีกมากมาย ที่สำคัญยังมีการประกวดสาวงามหรือ "วันลอยกระทง""ประกวดนางนพมาศ" อีกด้วย อะๆ หลายคนอาจสงสัยว่านางนพมาศคือใคร มีที่ไปที่มาอย่างไร แล้วทำไมต้องเรียว่านางนพมาศ เอาเป็นว่าเราไปความรู้จักกับ "ประวัตินางนพมาศ" กันดีกว่าค่ะ... 

          นางนพมาศ หรือ เรวดี นพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต  มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก 

          นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา  ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง 

          ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก 

          ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู  นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี  ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน 

          ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้ 

          นางนพมาศเป็นบุคคลที่ฉลาดถ่อมตัวเป็นอย่างยิ่ง จนได้สมญาว่า "กวีหญิงคนแรกของไทย" ดังเช่นที่เขียนไว้ว่า "ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วยงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฎชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน " 


          นี่คือนางนพมาศ สนมเอกของสมเด็จพระร่วงเจ้า ผู้สามารถประดิษฐ์ความคิดได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ จนสืบกลายมาเป็นประเพณีต่อมาอยู่ช้านาน ทั้งๆ ที่นักประวัติศาสตร์หลายท่านสงสัยว่าจะมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ 


ลอยกระทง ที่ไหนดี?
          ใกล้ วันลอยกระทง เข้ามาทุกที วันนี้เรามี เกร็ดความรู้ บทความ ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว มาแนะนำเพื่อนๆ กันด้วย เผื่อว่าบางคนยังคิดไม่ออกว่า วันลอยกระทง ปีนี้จะไป ลอยกระทง ที่ไหนดี ว้าว... ว่าแล้วก็ไปดู เกร็ดความรู้ บทความ ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว วันลอยกระทง เจ๋งๆ กันเลยดีกว่า 


          การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดงานลอยกระทงทั่วไทย 6 ที่ทั่วประเทศ 

          1.ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จ.สุโขทัย จัดระหว่าง   จัดที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีขบวนแห่โคมชักโคมแขวน มีกิจกรรม เช่น ขบวนอัญเชิญพระประทีป และกระทงพระราชทาน กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข การประกวดโคมชัก-โคมแขวน การแสดงแสงสีเสียงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของจังหวัดสุโขทัย กิจกรรมการเผาเทียน เล่นไฟ หรือดอกไม้ไฟนานาชนิดหลายรูปแบบ พ่อค้าแม่ค้าในงานจะแต่งกายด้วยชุดแบบสุโขทัยโบราณ ผู้เข้าร่วมงานหาซื้อบัตรเข้าชมการแสดงแสงสีเสียงเรื่องราวประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ที่ โทร.0-5561-1619 และ 0-5561-4304 

          2.ประเพณียี่เป็ง จ.เชียงใหม่    ข่วงประตูท่าแพ ริมฝั่งแม่น้ำปิง หน้าเทศบาลนครเชียงใหม่ ในงานมีขบวนแห่โคมไฟ ขบวนประกวดกระทง การประกวดเทพียี่เป็ง การแสดงแสง-เสียงกลางลำน้ำปิง กิจกรรมลอยกระทงย้อนเวลาหาวิถีล้านนาไทย การแสดงศิลปะพื้นบ้านและการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมพื้นบ้านแบบล้านนา 

          3.ประเพณีลอยกระทงตามประทีป ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ    ชมการแสดงการจำลองประเพณีการลอยกระทงตามประทีปของกษัตริย์ไทยสมัยกรุงศรี อยุธยาตอนปลาย พร้อมทั้งพิธีอาบเพ็ญ และการประกวดไหลเรือไฟ มีการประกวดนางนพมาศชิงถ้วยพระราชทานฯ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยพื้นบ้าน เลือกซื้อและชมสินค้าจากศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ 


   4.ประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าสี่มุมเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา 

          5.ประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง ชิงถ้วยพระราชทานฯ จ.ตาก  ที่ริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จ.ตาก กิจกรรมในงานมีการประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การจัดลอยพระประทีปของพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดขบวนแห่กระทงพระราชทาน และพระประทีปพระราชทาน การจัดตกแต่งประดับไฟบริเวณงาน การจัดแสดงแสง เสียง พลุ และดอกไม้ไฟ การจัดแสดงม่านน้ำ ชุด ตำนานกระทงสาย การจัดลอยกระทงที่ยาวที่สุด การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง และการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 

          6.งานมหกรรมโคมไฟเฉลิม พระเกียรติฯ สีสันเมืองใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา จั ที่สวนสาธารณะบึงศรีภูวนารถ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 

          ส่วนที่อื่นมีอย่าง เทศบาลนครภูเก็ต จัดงานประเพณีลอยกระทง  ที่บริเวณเวทีกลางสะพานหิน วันที่ 22 ช่วงค่ำมีการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง และการแสดงของนักเรียน วันที่ 23 พฤศจิกายน ช่วงเช้ามีการแข่งขันวาดภาพ ส่วนช่วงค่ำมีการประกวดหนูน้อยนพมาศและการแสดงของนักเรียนบนเวที 

          วันที่ 24 พฤศจิกายน ช่วงเช้ามีการประกวดเย็บใบตองสดและการจัดสวนถาด ส่วนช่วงค่ำระหว่างเวลา 18.30 - 20.00 น. มีการแห่ขบวนกระทงจากเทศบาลนครภูเก็ตไปยังเวทีกลางสะพานหิน มีด้วยกัน 9 ขบวน คือ ขบวนชาติ, ขบวนศาสนา, ขบวนพระมหากษัตริย์, ขบวนพราหมณ์, ขบวนบูชาพระแม่คงคา, ขบวนตามรอยนางนพมาศ, ขบวนวัฒนธรรม, ขบวนแห่กระทง และขบวนยุคปัจจุบัน ส่วนตั้งแต่ 20.00 น.เป็นต้นไป มีพิธีลอยกระทง และมีการจุดพลุเฉลิมพระเกียรติจำนวน 9 ชุด 

          เชียงราย-มีงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง และลอยกระทง 4 ชาติ 

          ที่บริเวณสนาม รด. อ.เมือง (เชิงสะพานแม่ฟ้าหลวง) จ.เชียงราย ในงานมีขบวนแห่กระทงประดิษฐ์ ร่วมลอยกระทง 4 ชาติ และการแสดงจากประเทศไทย ลาว จีน พม่า ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่เทศบาลนครเชียงราย โทร.0-5371-1333 ต่อ 304-5 

          พะเยา-มีงานยี่เป็งลอยโคม และงานสืบสาน ตำนานไทลื้อ  ที่บริเวณริมกว๊านพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา ในงานมีการแข่งขันเรือ 22 ฝีพาย ขบวนแห่กระทง การปล่อมโคมลอย และการแสดงทางวัฒนธรรม ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ปกครองจังหวัดพะเยา โทร.0-5444-9627-32 


          บุรีรัมย์-ประเพณีลอยกระทง "สีสันละลม อารยธรรมแห่งสายน้ำ" 

          ที่คลองละลม ศาลเจ้าแม่บัวลอย อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ มีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่บัวลอย การแข่งขันเรือเข็มขนาด 7 ฝีพาย และกีฬาพื้นบ้าน การประกวดขบวนแห่ ประกวดกระทงใหญ่ กระทงเล็ก ประกวดนางนพมาศ การจุดพลุ ตะไล การแสดงคอนเสิร์ต ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ โทร.0-4460-2345 ต่อ 612-3 


          สุรินทร์ -สืบสานงานประเพณีลอยกระทง    ที่เวทีไผทสราญ สระน้ำวัดจุมพล สุทธาวาส มีการประกวดนางนพมาศช้าง การแสดงศิลปะพื้นบ้าน การแข่งขันกีทางน้ำ การจุดพลุ ตะไล ไฟพะเนียง 

           นครศรีธรรมราช-งานประเพณีลอยกระทง    สวนสาธารณะศรีธรรมาโศกราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทงใหญ่ ประเภทสวยงาม การประกวดประดิษฐ์กระทง และการแสดงทางวัฒนธรรม


ที่มา http://www.navy22.com/smf/index.php?topic=16036.0



ประเพณีลอยกระทงภาคเหนือ


ประเพณี ลอยกระทง หรือ ลอยโขมด มีมาแต่โบราณ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนา ที่นับถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 นับตั้งแต่อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรล้านนา โดยเมื่อถึงเดือนยี่เป็งก็กระทำพิธีลอยโขมด เป็นการลอยกระทง ความหมายคือ การลอยเพื่อบูชาท้าวพกาพรหม, ลอยเพื่อลอยเคราะห์ลอยบาป, ลอยเพื่อส่งสิ่งของ, ลอยเพื่อบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร และลอยเพื่อบูชาอุบคุดด์เถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล

ประเพณีการลอยกระทงทางภาคเหนือเรียก ประเพณียี่เป็ง ตรงกับเดือนยี่ ขึ้น 14-15 ค่ำ ประเพณีลอยกระทงทางภาคเหนือนี้ตามหนังสือพงศาวดารโยนก และหนังสือจามเทวีวงศ์ กล่าวสอดคล้องเหมือนกันว่า เมื่อจุลศักราชได้ 309 (พ.ศ.1490) พระยาจุเลราชได้ครองราชสมบัติในนครหริภุญชัย สมัยนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้น ที่ตำนานเรียกว่า โรคหิว หรือ โรคห่า หรือ โรคอหิวาตกโรค ทำให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก บางพวกที่มีชีวิตอยู่เห็นว่าถ้าอยู่ต่อไปต้องตายแน่ จึงพากันอพยพไปอาศัยอยู่ในเมืองสุธรรมวดี คือเมืองสะเทิม ประเทศรามัญ หรือมอญ ต่อมาพระเจ้าพุกาม กษัตริย์พม่าตีได้เมืองสะเทิม ได้เก็บเอากุลธิดาของชาวเมืองไปเป็นบาทบริจาติกาเป็นจำนวนมาก

เมื่อเบื่อหน่ายก็ทอดทิ้งไม่ชุบเลี้ยงเหมือนดั่งก่อน พวกชาวเมืองหริภุญชัยก็อพยพหนีไปอาศัยอยู่กับพระเจ้าหงสาวดี ซึ่งพระองค์ทรงให้ความอนุเคราะห์ชุบเลี้ยงเป็นอย่างดี หลังจากที่อาศัยอยู่ไม่นาน ชาวเมืองได้ทราบข่าวว่าโรคระบาดทางนครหริภุญชัยสงบแล้ว ก็คิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ก็พากันกลับมายังหริภุญชัยอีกครั้ง บางคนต่างก็แต่งงานมีครอบครัว ก็ไม่กลับไปยังหริภุญชัย ยังคงอยู่ที่เดิมที่เมืองหงสา ครั้นถึงเดือนยี่เป็ง ที่ครบรอบที่ได้จากพี่น้องทางเมืองหงสามา ก็ได้จัดแต่งธูปเทียน เครื่องสักการะบูชา อาหาร เสื้อผ้า วัตถุข้าวของ ใส่ในแพไหลล่องตามแม่น้ำเพื่อเป็นการระลึกนึกถึงยังญาติพี่น้อง โดยคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะล่องลอยไปถึงญาติที่อยู่ในเมืองหงสาอันไกลโพ้น

การกระทำพิธีดังกล่าวเรียกกันว่า ลอยโขมด หรือลอยไฟ และถือเป็นประเพณีที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน (การลอยกระทงนั้น ในสมัยอาณาจักรล้านนาโบราณเรียกว่า ลอยโขมด คำว่าโขมดเป็นชื่อผีป่า เรียกกันว่าผีโขมด ชอบออกหากินเวลากลางคืน จะมีพะเนียงแสงไฟเห็นเป็นระย้าคล้ายผีกระสือ ดังนี้ กระทงที่จุดเทียนลอยน้ำ แสงไฟจะกระทบกับน้ำทำให้เกิดเงา เหมือนแสงไฟจากผีโขมด ดังนั้น ทางล้านนาโบราณจึงเรียกการลอยกระทงว่า ลอยโขมด)

ในสมัยอาณาจักรล้านนาไท พุทธศักราชได้ 2061 ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช (พระเมืองแก้ว) แห่งราชวงศ์มังราย เทศกาลเดือนยี่เป็งเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่มาก อาณาประชาราษฎร์ต่างพากันไปบูชาพระเจ้าในอารามข่วงแก้วทั้งหลาย มากมายไปด้วยผู้คนหนุ่มสาว ผู้เฒ่า ผู้แก่ รื่นเริงม่วนเล่นมหรสพสมโภชครึกครื้น เป็นที่พึงพอใจอย่างยิ่ง



ประเพณีเดือนยี่เป็ง
 มาถึงพอเริ่มขึ้น 1 ค่ำ เดือนยี่ วัดวาอารามจะจัดเตรียมสถานที่ในวัด ปัดกวาดพระวิหารศาลาให้สะอาด และจัดเตรียมสิ่งของดังต่อไปนี้ 1.ทำราชวัตร รอบวิหาร เจดีย์ ทำซุ้มประตูป่าทางเข้าวัด 2.ทำโคมแขวน โคมค้าง โคมรูปต่างๆ 3.ทำว่าว หรือโคมลอย ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ โคมที่ใช้ปล่อยตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยใช้วิธีรมควัน และโคมปล่อยตอนกลางคืน ใช้วิธีรมควันเหมือนว่าวที่ปล่อยกลางวัน แต่จะจุดไฟที่ท่อนผ้าผูกติดกับปากโคมลอยปล่อยสู่อากาศ โคมจะลอยสูงขึ้นเรื่อยๆ คล้ายดาวเคลื่อนคล้อยในเวหา และ 4.การทำบอกไฟ (บั้งไฟ) ประกอบด้วยบอกไฟหลายชนิด เช่น บอกไฟดอก บอกไฟดาว บอกไฟเทียน บอกไฟช้างร้อง บอกไฟจักจั่น บอกไฟท้องตั๋น บอกไฟขี้หนู ทำขึ้นเพื่อจุดในวันยี่เป็ง

มีคัมภีร์ที่กล่าวถึงการทำโคมลอย ทำว่าวไว้ด้วยว่า หากคนใดทำจะมีอานิสงส์ 1 กากณึก (ทรัพย์มีค่าเท่าค่าแห่งชิ้นเนื้อพอกานำไปได้ เป็นชื่อมาตราเงินต่ำที่สุด) การปล่อยโคมลอย ว่าว จุดบอกไฟนั้น เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อีกประการหนึ่งด้วย

สำหรับชาวบ้านชาวเมืองจะจัดเตรียมสิ่งของ ดังนี้ 1.เครื่องนุ่งหย้อง เพื่อจะไปวัดในเดือนยี่เป็ง 2.เตรียมโคมทำราวแขวนโคม เพื่อประดับบูชาหน้าบ้านเรือนตน 3.เตรียมผางผะดิ้ด (ถ้วยประทีป) ไว้เท่าอายุของคนที่อยู่ในเรือนนั้น 4.เตรียมกัณฑ์ธรรม หรือกัณฑ์เทศน์สำหรับจะนำไปถวายพระตอนฟังเทศน์ 5.เตรียมบุปผาลาจาข้าวตอกดอกไม้เพื่อใช้โปรยเวลามีงานในการฟังเทศน์มหาชาติ และใส่ขันแก้วตึงสาม 6.เตรียมอาหาร ผลไม้ ขนม สำหรับพระภิกษุสงฆ์ จัดเตรียมในวันขึ้น 15 ค่ำ ตอนเช้าตรู่ และ 7.ทำซุ้มประตูป่าแบบต่างๆ ให้เป็นที่สวยงาม ประกอบด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ก้านมะพร้าว ดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกรัก นำมาประดิษฐ์เป็นอุบะห้อยประตูป่า

วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่เป็ง ประมาณ 06.00 น. เช้ามืด ชาวบ้านจะนำข้าวปลาอาหารไปถวายพระภิกษุสงฆ์ ที่วัดเรียกว่า ตานขันข้าว เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว

ตอนสายชาวบ้านจะไปที่วัดเพื่อฟังเทศนาธรรม วัดบางแห่งมักจะมีการตั้งธรรมหลวง เรียกว่า เทศน์ธรรมมหาจาติแบบพื้นเมือง จะมีการเทศน์ทั้งหมด 13 กัณฑ์ ให้เสร็จภายในวันเดียว

ตอนเช้าลู่ค่ำ ชาวบ้านชาวเมืองจะพากันไปสู่ที่วัด เพื่อนำผางปะดิ้ดไปจุดบูชาพระเจ้าที่วัด จุดโคมบูชาสว่างไสวทั่วพระอาราม หลังจากจุดธูปเทียนบูชาแล้ว จะมีการจุดบอกไฟ (ดอกไม้ไฟ) ประเภทต่างๆ ภายในวัด โดยจุดเป็นพุทธบูชา ส่วนผู้เฒ่า ผู้แก่จะกลับไปบ้าน เพื่อจุดผางปะดิ้ดที่บ้าน บูชาพระพุทธเจ้า บูชาเจ้าที่เจ้าทาง บูชาบ่อน้ำ บูชาประตูบ้าน บูชาครัวไฟ ประตูยุ้งฉาง เทวดาประจำบ้าน

ประเพณีลอยกระทงของภาคเหนือนั้น เป็นประเพณีที่ได้รับการส่งเสริมตลอดมา ปัจจุบันประเพณีการลอยกระทงทางเหนือได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่

ที่มา http://news.sanook.com/education/education_44572.php

ประเพณีลอยกระทงภาคกลาง

 


ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
                 กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
                 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
 ลอยกระทงภาคกลาง (ททท.)

กาญจนบุรี

          ขอเชิญร่วมงานประเพณีลอยกระทง จังหวัดกาญจนบุรี ประจำปี 2554 ในวันที่ 1 – 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณสวนสมเด็จพระญาณสังวร โดยมีกิจกรรมการประกวดกระทงใหญ่ชุมชน, ประกวดนางนพมาศ, การแสดงบนเวที และกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านสืบสานวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี โทรศัพท์ 034 512 464

          ขอเชิญร่วมงานประเพณีลอยกระทงสังขละบุรี ประจำปี 2554 ในวันที่ 9 – 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณวัดศรีสุวรรณ (ติดท่าเทียบเรือเทศบาล) ภายในงานกิจกรรม (กลางวัน) มีการแข่งเรือยนต์และเรือพาย (กลางคืน) มีการประกวดหนูน้อยนพมาศ ประกวดกระทง และมีการแสดงวัฒนธรรมของชาวมอญ รามัญ และชาวไทยเชื้อสายมอญ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลวังกะ โทรศัพท์ 034 595 093

สุพรรณบุรี

          ประเพณีลอยกระทงจังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 2554 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณเขื่อนริมน้ำ สะพานข้ามวัดพระรูป-สะพานอาชาสีหมอก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ภายในงานจะมีกิจกรรมการลอยกระทง, การประกวดกระทงประเภทต่าง ๆ, การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม, การแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง, การจัดจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ และมหรสพ ฯลฯ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035 535 380

          งานประเพณีลอยกระทงเมืองอู่ทอง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณคูเมืองโบราณ ด้านหน้าอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภายในงานจะมีกิจกรรมลอยกระทง, การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของนักเรียนในเขตอำเภออู่ทอง และมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ อำเภออู่ทอง โทรศัพท์ 035 551 001

          งานปิดทองพระ และลอยกระทงสวรรค์ 12 นักษัตร สืบสานประเพณีท้องถิ่น ในวันที่ 8 – 12 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณวัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภายในงานจะมีกิจกรรมลอยกระทงสวรรค์, นมัสการหลวงพ่อสังฆ์ศรีสรรเพชญ์ พระพุทธไสยาสน์สมัยทวารวดี, นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองสมัยทวารวดี, บูชาเจ้าพ่อจักรนารายณ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์สมัยทวารวดี, ชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดเขาพระ, รำวงย้อนยุค การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งและมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเวียงจันทร์ ดีสุขแสง โทรศัพท์ 084 140 6458

          สีสันแห่งสายน้ำ สู่ตำนานลอยกระทง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณวัดอัมพวัน (วัดหลวงพ่อโหน่ง) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภายในงานจะมีกิจกรรมลอยกระทง ขบวนแห่กระทง, ชมการประกวดนางนพมาศ, การประกวดกระทงของชาวชุมชน, เวลา 19:45 น. ชมพิธีเปิดงานประเพณีลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่ด้วย แสง สี เสียง ประกอบการแสดงบนสายน้ำ, พิธีแห่กระทงเวียนรอยพระพุทธบาท, การจัดจำหน่ายสินค้า การแสดงลิเก การแสดงดนตรีและมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลเมืองสองพี่น้อง โทรศัพท์ 035 531 012 ต่อ 113

          งานประเพณีลอยกระทงดอนเจดีย์ ประจำปี 2554 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554ณ บริเวณลานพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภายในงานจะมีกิจกรรม (14.00 น.) ชมขบวนแห่รถบุพชาติ กลองยาว แตรวงและนางรำ ของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งโรงเรียนในเขตเทศบาลตำบลดอนเจดีย์ และ (20.00 น.) พิธีเปิดงานลอยกระทง การแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  สำนักงานเทศบาลตำบลดอนเจดีย์ โทรศัพท์ 035 591 240 ต่อ 102

          งานสืบสานวัฒนธรรมงานประเพณีลอยกระทงหลวงพ่อโบ้ยวัดมะนาว ประจำปี 2554 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณวัดมะนาว หมู่ที่ 1 ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ภายในงานจะมีกิจกรรมการลอยกระทงตามประเพณีไทย, การผลิตกระทงที่ทำจากกะลา การจำหน่ายกระทง, การปิดทองไหว้พระหลวงพ่อโบ้ย, การประกวดกระทงชิมขนมจีน อาหารพื้นบ้าน, การออกร้านจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมและสินค้าราคาพิเศษ, การแข่งขันเรือพื้นบ้าน รำวงย้อนยุค และมหรสพต่าง ๆ ฯลฯ

ประเพณีวันลอยกระทงและงานมหกรรมอาหารอร่อย จังหวัดชัยนาท

          จังหวัดชัยนาท ขอเชิญร่วมงานประเพณีวันลอยกระทงและงานมหกรรมอาหารอร่อย ในวันที่ 9 – 13 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน ศาลากลางจังหวัดชัยนาท

          โดยภายในงานจะมีกิจกรรมลอยกระทง, งานมหกรรมอาหารอร่อย, การจำหน่ายสินค้า OTOP ของดีเมืองชัยนาท และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม จากนักเรียนในโรงเรียนของจังหวัดชัยนาท ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดชัยนาท โทศัพท์ 056 416 577, 056 416 575

จังหวัดอ่างทอง

          งานเทศกาลลอยกระทง จังหวัดอ่างทอง ประจำปี 2554 ในวันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดอ่างทอง โดยกิจกรรมภายในงานจะมีการประกวดกระทง, ประกวดนางนพมาศ และการแสดงมหรสพมากมาย ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง โทรศัพท์ 035 611 620

          งานเทศกาลลอยกระทง อำเภอแสวงหา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง โดยภายในงานจะมีกิจกรรมการประกวดขบวนแห่ของดีอำเภอแสวงหา และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ทำการอำเภอแสวงหา โทรศัพท์ 035 695 234

จังหวัดเพชรบุรี

          งานประเพณีลอยกระทง อำเภอเมืองเพชรบุรี ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 ณ บริเวณสนามฟุตบอลวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี, บริเวณคลองบางจาก บ้านดอนขุนแขวง และโรงเรียนวัดเขมาภิรัติการาม, บริเวณสวนภูมิทัศน์หน้าหาดเจ้าสำราญ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมกิจกรรมลอยกระทง และแสดงมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานศูนย์เยาวชน กองการศึกษา เทศบาลเมืองเพชรบุรี โทรศัพท์ 032 425 013 ต่อ 122, 032 426 258

          งานประเพณีลอยกระทง อำเภอท่ายาง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณสวนสุขภาพเทศบาลตำบลท่ายางและตลอดแนวคันคลองชลประทานสาย 3, บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย ตำบลเขากระปุก เทศบาลตำบลท่าไม้รวก โดยจะมีกิจกรรมการลอยกระทง และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลท่ายาง โทรศัพท์ 032 463 000 ต่อ 501

          งานประเพณีลอยกระทง อำเภอบ้านแหลม ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณลาน คสล.เอนกประสงค์ ข้างสำนักงานเทศบาลตำบลบางตะบูน, บริเวณวัดต้นสน ตำบลบ้านแหลม
โดยจะมีกิจกรรมการลอยกระทง และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลบางตะบูน โทรศัพท์ 032 489 234 ต่อ 18, เทศบาลบ้านแหลม โทรศัพท์ 032 772 096

          งานประเพณีลอยกระทง อำเภอเขาย้อย ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณสระน้ำสระพัง ตำบลสระพัง, คลองชลประทาน อบต.หนองชุมพลเหนือ ภายในงานจะมีกิจกรรมการลอยกระทง และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองการศึกษา เทศบาลตำบลเขาย้อย โทรศัพท์ 032 562 061 – 2, ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย (บ้านวัง) โทรศัพท์ 032 561 200

จังหวัดราชบุรี

          ประเพณีการแข่งขันเรือยาวเมืองคนสวย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ งานสืบสานประเพณีลอยกระทง และงานมหกรรมเทศกาลอาหารอร่อย ประจำปี 2554 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณริมเขื่อนแม่น้ำแม่กลอง โดยกิจกรรมจะมีงานมหกรรมเทศกาลอาหารอร่อย, ขบวนแห่อัญเชิญถ้วยพระราชทานการแข่งขันเรือยาวเมืองคนสวยฯ, การแข่งขันเรือยาวเมืองคนสวยฯ, การประกวดหนูน้อยนพมาศ, ขบวนแห่กระทง และการประกวดนางนพมาศ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลโพธาราม โทรศัพท์ 032 231 267 ต่อ 103, 104

          งานลอยกระทงสาย-ตามลอยประทีป บูชาแม่น้ำแม่กลอง-รอยพระพุทธบาท ในวันที่  10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณวัดไทรอารีรักษ์โพธาราม โดยจะมีกิจกรรมการลอยกระทงสาย ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลโพธาราม โทรศัพท์ 032 231 267 ต่อ 103, 104

          งานประเพณีลอยกระทง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณลานเอนกประสงค์บ้านเขาราบ และริมคลองชลประทานบ้านหนองกลางเนิน ณ เอนกประสงค์หน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าชุมพล วัดแก้วฟ้า ตำบลธรรมเสน โดยจะมีกิจกรรมการประกวดกระทง, กิจกรรมการแต่งกายไทย 9 ยุค 9 สมัย ร่วมกิจกรรมลอยกระทง, ประกวดนางนพมาศ และมหรสพต่าง ๆ เช่น ลิเก ลำตัด รำวงย้อนยุค ภาพยนตร์ ฯลฯ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอโพธาราม โทรศัพท์ 032 233 315

          งานประเพณีลอยกระทง ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2554 สถานที่จัดงานบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว ภายในงานจะมีกิจกรรมลอยกระทง และการแสดงมหรสพต่าง ๆ ทั้งนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอเมือง โทรศัพท์ 032 325 869


ที่มาhttp://travel.kapook.com/view32955.html

ประเพณีลอยกระทงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


     ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
                จังหวัดร้อยเอ็ด มีชื่องานประเพณีว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง การประกวดประทีปโคมไฟและกระทงอันสวยงาม มีการจำลองแห่หัวเมืองสาเกตุนครทั้ง11 หัวเมือง
                 จังหวัดสกลนคร ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่าเทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล
                  จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า “ไหลเรือไฟ“โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน




ที่มา http://hilight.kapook.com/view/30438

ประเพณีลอยกระทงภาคใต้

 

 ภาคใต้ ส่วนใหญ่จะนำหยวกกล้วยมาทำเป็นแพ บรรจุเครื่องอาหารแล้วลอยไป จะลอยเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อให้หายเจ็บหายไข้ เป็นการลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์
             ด้วยความแตกต่างในแต่ละท้องถิ่นนี้เอง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้มีการจัดประกวดกระทงไทยสี่ภาค ในโครงการ “วัฒนธรรมกับสายน้ำสู่ประเพณีลอยกระทง” ขึ้น  ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันกว่า20ทีมด้วยกัน วัสดุที่นำมาประดิษฐ์กระทงล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุจากธรรมชาติแทบทั้งหมด แต่ละทีมต่างโชว์ฝีไม้ลายมือความประณีต ลวดลายที่สวยงาม และจินตนาการที่สร้างสรรค์ตามสไตล์ของเยาวชนรุ่นใหม่ งานนี้คณะกรรมการตัดสินถึงกับหนักใจในการให้คะแนนกันเลยทีเดียว สุดท้ายแล้วผู้ที่ได้รับรางวัลชนะการประกวด ประเภทกระทงอนุรักษ์  ได้แก่ทีมที่ 17 เป็นทีมบุคคลทั่วไป และผู้ชนะการประกวด ประเภทกระทงสร้างสรรค์  ได้แก่ ทีมที่ 3 นายกิตติศักดิ์ ฤทธิ์น้อย
             นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังมีการประกวด การละเล่นที่มีความหลากหลาย ถึงแม้ว่าประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยในแต่ละภาคนั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่ทัศนคติ ความเชื่อที่อยู่ในสายเลือดของความเป็นไทยไม่ได้ผิดเพี้ยนกันไปเลย ทั้งยังมีการปฏิบัติสืบทอดกันเรื่อยมา


ที่มา  http://hilight.kapook.com/view/30438

ตำนานกระทงสายไหลประทีบ ๑ooo ดวง ของจังหวัดตราก

ตำนานกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง ของจังหวัดตาก
ด้ายตีนกา

กระทงกะลา

 ตำนานการฟั่นด้ายตีนกา
     เหตุที่ต้องฟั่นด้ายดิบเป็น รูปตีนกา นั้น มีตำนานเล่าขานจากผู้เฒ่าผู้แก่สืบทอดต่อกันมาว่า ในอดีตกาลมี สามเณรน้อย ผู้ชอบเที่ยวซุกซนอยู่รูปหนึ่ง มีนิสัยที่ชอบล่าสัตว์ ยิงนก ตกปลาเป็นประจำ วันหนึ่งเณรน้อยได้ยิงไก่ วัว เต่า และพญานาค ตาย จึงเกิดสำนึกในบาปที่ตนได้กระทำมาตลอด จึง ได้อธิษฐานกับพวกไก่ วัว เต่า และพญานาค ว่าถ้าได้เกิดมาในชาติหน้าขอให้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน

     ณ ริมฝั่ง แม่น้ำคงคา มีต้นไทรอยู่ต้นหนึ่งเป็นที่อาศัยของกาเผือกสองตัวผัวเมีย ซึ่งได้ออกไข่มา ๕ ฟอง อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่กาเผือกสองตัวผัวเมียออกเที่ยวหาอาหารอยู่นั้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม มีลมพัดแรง ได้พัดเอาไข่ ๕ ฟอง ตกลงในแม่น้ำ แต่ไข่นั้นหาจมน้ำไม่ กลับลอยไปติดชายหาดแห่งหนึ่ง และไข่ทั้ง ๕ ฟอง ก็แตกออกมาเป็นเด็กทารก ๕ คน คือ เณรน้อย ไก่ เต่า วัว และพญานาคที่มาเกิดนั้นเอง ทารกทั้ง ๕ คน ก็พากันตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าตนทั้ง ๕ เป็นพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ก็ขอให้มีโอกาสพบพ่อแม่ด้วยเถิด

     ส่วนกาเผือกสองตัวผัวเมีย เมื่อตายลงไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ จึงมาเข้าฝันทารกทั้ง ๕ คน ว่า “ หากเจ้าทั้ง ๕ คน อยากเห็นหน้าและระลึกถึงพ่อแม่ ก็จงฟั่นด้ายเป็น รูปตีนกา แล้วลอยแม่น้ำคงคาไป ” ต่อมาทารกทั้ง ๕ คน ก็ได้สำเร็จอรหันต์เป็น พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ด้วยเหตุนี้การลอยกระทงสายทุกครั้ง จึงมีการฟั่นด้ายเป็นรูปตีนกา เพื่อบูชาแม่กาเผือกของพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ซึ่งเป็นงานประเพณีการลอยกระทงสายของจังหวัดตากไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง สืบมาจนทุกวัน



งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง

     งานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง ของจังหวัดตาก เป็นงานประเพณีที่นำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน และงานศิลปวัฒนธรรม มาหล่อหลอมรวมกันจนเกิดเป็นรูปแบบที่โดดเด่น ได้มีการปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลายาวนานหลายชั่วอายุคน ซึ่งจะแตกต่างกับงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดอื่น เพราะส่วนประกอบของกระทงจะมีการนำ กะลามะพร้าว มาใช้เป็นส่วนใหญ่ เหตุที่มีการนำเอากะลามาเป็นส่วนประกอบนั้น เนื่องมาจากชาวเมืองตาก มีการนำเอามะพร้าวมาแปรรูปทำเป็นอาหารว่าง ที่เรียกว่า “ เมี่ยง ” โดยถือเป็นอาหารว่างที่ชาวเมืองตากรับประทานเป็นประจำหลังอาหาร ซึ่งมีมะพร้าว ถั่วลิสง ใบเมี่ยงหมัก เป็นส่วนประกอบหลัก นอกจากทำเพื่อรับประทานกันเองภายในครอบครัวแล้ว ยังมีการนำมาขายเป็นอาหารพื้นเมืองและได้รับความนิยมในภาคเหนือโดยทั่วไป กรรมาวิธีในการแปรรูปมะพร้าวเป็น “ เมี่ยง ” นั้น มีการขูดเอาเฉพาะเนื้อมะพร้าวมาทำ ส่วนกะลามะพร้าวจะถูกทิ้งไว้ในบริเวณบ้านเป็นจำนวนมาก ไม่มีการนำเอามาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

มะพร้าวและกะลา
กระทงกะลา



     ครั้นถึงวันเพ็ญ เดือนสิบสอง ( วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินทางจันทรคติ ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ชาวบ้านจึงได้ทดลองนำกะลาด้านที่ไม่มีรูมาทำเป็นกระทง โดยเอากะลามาขัดถูจนสะอาด ตกแต่งลวดลายสวยงาม ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็น รูปตีนกา แล้วหล่อ เทียนขี้ผึ้ง ซึ่งนำมาจากเทียนจำนำพรรษาที่พระสงฆ์จุดเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสามเดือน หลังจากออกพรรษาชาวบ้านจะนำเทียนขี้ผึ้งเหล่านั้นมาหล่อใส่ในกะลา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นศิริมงคลแก่ผู้นำไปลอย ก่อนที่จะปล่อยลงลอยในแม่น้ำปิง ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะเกิดสันทรายใต้น้ำ ทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามเป็นธรรมชาติ เมื่อนำ กระทงกะลา ลงลอย กระทงกะลาจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าว ทำให้ดูเป็นสายอย่างต่อเนื่อง จนสุดสายตา ซึ่งไฟในกะลาจะส่องแสงระยิบระยับเต็มท้องน้ำ
     โดยเดิมทีก่อนที่จะมาเป็นงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง นั้น การนำเอากระทงกะลามาลอยเป็นสายจะเป็นเพียงการสาธิตการลอยเท่านั้น ซึ่งในระยะต่อมาได้มีการพัฒนาการลอยมาเป็นการแข่งขันกันอย่างยิ่งใหญ่ในปี พ.ศ. 2540 จนเป็นงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดตากที่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

การสาธิตการลอยกระทงสาย




















ที่มา  http://krathongsaitak.tessabantak.go.th/index2.php

กิจกรรมวันลอยกระทง



ที่มาhttp://www.youtube.com/watch?v=pf8oPMkZmxg&feature=related




ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=5sIUfyraKCk